วิธีเย็บเสื้อยืดคอกลม
การเย็บเสื้อยืดคอกลมนั้นจัดได้ว่าเป็นพื้นฐานของงานเย็บอุตสาหกรรมก็ว่าได้
โดยขั้นแรกหลังจากที่เราตัดผ้าลำตัวด้านหน้า 1 ชิ้น, ลำตัวด้านหลัง 1 ชิ้น, แขน 2 ชิ้นและชิ้นคอ 1 ชิ้นแล้ว
ขั้นที่ 1 คือการเย็บบริเวณไหล่ทั้ง 2 ด้าน, โดยให้ด้านหน้าผ้ากระกบติดกัน
ขั้นที่ 2 นั้นคือการเย็บชิ้นคอ
บางท่านก็เย็บคอเตรียมไว้ก่อน อันนี้แล้วแต่ถนัด หากเป็นงานภาคอุตสาหกรรมที่แข่งกับเวลาจริงๆ ก็ต้องเตรียมชิ้นคอไว้ให้เรียบร้อยเสียก่อนเพื่อความรวมเร็วในการทำงาน ส่วนเรื่องของวัสดุว่าจะใช้อะไรทำชิ้นคอนั้นก็ว่ากันไปตามลักษณะงานว่าจะใช้ผ้าในตัวหรือใช้ซก (ผ้าที่เป็นยืดๆ) ก็ดีกันไปคนละแบบ
เย็บคอติดกับลำตัว
แล้วกลับเสื้อจากด้านในมาด้านนอกเพื่อเตรียมตัวทำงานในขั้นต่อไป
แล้วกลับเสื้อจากด้านในมาด้านนอกเพื่อเตรียมตัวทำงานในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 3 : กดเย็บคิ้วรอบคอเพื่อความเรียบร้อยและความคงทน โดยขั้นตอนนี้นั้นบางร้านก็ทำ บางร้านก็ไม่ได้ทำซึ่งก็แล้วแต่จุดประสงค์
โดยขั้นตอนที่ 3 นี้ไม่ตายตัวว่าจะทำก่อนหรือหลังจากการเย็บลาลูกโซ่บริเวษคอ ซึ่งก็ว่ากันไปตามความถนัดและเคยชิน
ตัดเศษด้ายเพื่อความเรียบร้อย
** ค่อยดูเป็นเสื้อขึ้นมาหน่อย -__-!!! **
ขั้นตอนที่ 4 : การเย็บลาลูกโซ่บริเวณคอ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็แล้วแต่ร้าน เพราะหากต้องการลดต้นทุนก็จะไม่ทำ แต่ส่วนใหญ่ก็ทำเพื่อความสวยงามและเรียบร้อยของงานเย็บ
** เย็บด้วยจักรเข็มคู่ลาลูกโซ หรือสุดแท้แต่จะเรียกกัน (มีหลายชื่อเหลือเกิน -__-!!!)**
** โดยเริ่มเย็บจากตะเข็บไหล่เสื้อด้านหนึ่งผ่านคอด้านหลังจนมาสุดที่ไหล่อีกด้านหนึ่ง **
** แล้วจึงกลับเสื้อเพื่อความเรียบร้อย **
** ค่อยดูเป็นเสื้อขึ้นมาอีกหน่อย **
** การใช้ผ้ามาเย็บบริเวณคอ ลาลูกโซ่นั้นจะเป็นผ้าลักษณะม้วนวนยาวติดกัน โดยการตัดเฉียง **
ขั้นตอนที่ 5 : การเย็บแขนเสื้อทั้ง 2 ข้างติดกับลำตัว
** โดยเริ่มจากการลาแขนเสื้อด้วยการพับปลายแขนแล้วใช้จักรลาโรยหรือลาชาย (สุดแท้แต่จะเรียกเถอะ -__-!!!) **
** เย็บแขนติดกับลำตัวโดยประกบชิ้นแขนเข้ากับส่วนตัวให้ด้านหน้าประกบกับด้านหน้าแล้วจึงทำการเย็บ **
ขั้นตอนที่ 6 : เย็บโพ้งไล่ลงมาตั้งแต่ปลายแขนเสื้อผ่านตะเข็บด้านข้างลงมาจนสุดลำตัว ด้วยจักรโพ้ง
ขั้นตอนที่ 7 : กลับมาที่จักรลาอีกครั้งเพื่อลาชายเสื้อก็เป็นอันจบขั้นตอนการเย็บเสื้อยืดแบบคร่าวๆ
หากมีโอกาสก็คงจะได้ทำเป็นวีดีโอภาพเคลื่อนไหวมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันในโอกาสต่อไปครับ
สำหรับบางท่านที่ชำนาญเป็นอย่างดีแล้วก็คงจะดูเป็นเรื่องเรียบง่าย แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยทำแต่อยากจะทำงานเย็บเสื้อผ้า ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้ด้วยใจจริงครับ และก็หวังว่าบทความไม่ค่อยจะได้เรื่องชิ้นนี้จะจุดประกายอะไรได้บ้าง เพราะหากสถานการณ์ภาคแรงงานของอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้ายังเสียสูญอยู่แบบนี้ต่อไปในอนาคตคงนึกไม่ออกว่าจะเป็นยังไง แม้กระทั่งผู้เขียนเองก็ยังต้องใช้ช่างเย็บชาวเวียดนามเป็นแรงงานหลัก
—
นอกเรื่องหน่อยหนึ่ง!
—
แรงงานภาคอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าในปัจจุบัน 2558 ในเขต กทม นั้นกว่าครึ่งเป็นชาวเวียดนามที่มีลักษณะพิเศษคือมีความชำนาญด้านงานเย็บเสื้อผ้าติดตัวมาจากบ้านเกิด โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่มีจากภาคกลาง พวกเขามีทั้งความอดทน ความมุ่งมั่น และความอ้อนน้อมถ่อมตนต่างจากชาวพม่าหรือกัมพูชาที่ค่อนข้างรั้นและฉลาดแกมโกง ลักษณะพิเศษของชาวเวียดนามแบบนี้เป็นลักษณะที่ผู้เขียนอิจฉาและเฟ้อฝันว่าชาวไทยเราคงจะมีความสามารถพิเศษแบบนั้นติดตัวไว้ในแต่ละทุกหมู่บ้าน
ด้วยความเคารพเพื่อนๆ ทุกคน
โอ